วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเจรจาต่อรองเพื่อลดปัญหาหรือคลายปมขัดแย้ง

ความ ขัดแย้งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับทุกชีวิตในองค์กร คำถามว่า ทำไมก็เพราะสมาชิกในองค์การมีเป้าหมายหรือความต้องการต่างกัน องค์การมีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด เป็นแรงผลักดันให้ทุกคนต้องใช้วิธีการทางการเมืองในองค์การทำให้เกิดความขัด แย้ง
       นอกเหนือจากนั้น ในการบริหารสมัยใหม่ย่อมเพิ่มความขัดแย้งให้เกิดขึ้นเพราะมีการพึ่งพาอาศัย กัน การประสานงานมีการแข่งขันกันภายในกลุ่มหรือต่างกลุ่มในสถานการณ์ต่างๆ ตัวอย่างในองค์การแบบเมตริกส์ คนหนึ่งทำงานหลายหน้าที่ การทำงานเป็นทีม มีการตัดสินใจร่วมกัน ระบบการจ่ายเงินเดือนสองรอบ การกำหนดโครงสร้างองค์การใหม่ การตัดราคาขายซึ่งกันและกัน การเพิ่มความมีประสิทธิภาพไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกที่ Tjosvold และ Johnson (1983,p10) ได้กล่าวว่าทักษะการบริหารที่สำคัญในการบริหารเพื่อประสิทธิผลขององค์การคือ การบริหารในเชิงสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
         เพราะว่าความขัดแย้งเป็นธรรมชาติขององค์การ ไม่สามารถที่จะขจัดให้หมดไปได้ แน่นอนไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งเลวร้ายเสมอไปความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ดี ความขัดแย้งทำให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์์ ทำให้เกิดนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง(Robbins,1978) ข้าพเจ้าจะกำหนดการอภิปรายในบทนี้ในเรื่องทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้งเท่านั้น
         การแก้ปัญหาความขัดแย้งและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
         ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งจุดเน้นในการแก้ ปัญหาความขัดแย้งให้เน้นที่เป้าหมาย การฟัง การให้ข้อมูลย้อนกลับและทักษะการพูดชักชวน
          การกำหนดเป้าหมายเป็นการชี้นำ และจูงใจผู้ร่วมงาน มีมาตรฐานการทำงานกำหนดไว้เพื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐาน การป้องกันความขัดแย้ง การลดความสนับสนุน คลุมเครือ และขจัดผลประโยชน์ส่วนบุคคลเพื่อเป้าหมายใหญ่ขององค์การ การตั้งเป้าหมายก็เป็นการชี้เฉพาะไปที่มาตรฐานการปฏิบัติงาน
          สิ่งเหล่านี้ในทางกลับกันถ้าสนองตอบผลประโยชน์ส่วนตนปัญหาความขัดแย้งก็จะมี มากขึ้น เหมือนกับพฤติกรรมการเมืองย่อมมีความขัดแย้งมากขึ้น บรรยากาศก็อืมครืม การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนจะช่วยลดปัญหา และสามารถใช้ทักษะในการแก้ปัญหาความขัดแย้งได้
            การฟังและการให้ข้อมูลย้อนกลับซึ่งกันและกันทำให้การสื่อสารมีประสิทธิผล เพิ่มมากขึ้น ความผิดเพี้ยนของการสื่อสารทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นบ่อยๆ ประโยชน์ของการฟังทำให้การติดต่อสื่อสารมีความเข้าใจกันมากขึ้น การให้ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงด้วยกันทั้งผู้ ส่งสารและผู้รับสารลดความผิดเพี้ยนของการสื่อสาร
            การพูดเกลี้ยกล่อมเป็นทักษะส่วนตัวที่ใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งได้เป็นวิธีการ ที่จะทำให้ผู้อื่นทำตามที่ปรารถนา เมื่อไม่ต้องการใช้อำนาจหน้าที่แบบเป็นทางการเมื่อกลุ่ม 2 กลุ่มที่ขัดแย้งกันในองค์การ ท่านสามารถใช้ศิลปะในการเกลี้ยกล่อมเพื่อใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นได้นอก เหนือจากนั้นการเจรจาต่อรองที่มีประสิทธิผลนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของ ท่านในการเกลี้ยกล่อมคนอื่นให้ลดความต้องการของเขาลงเพื่อให้เขาเห็นคุณค่า ที่ท่านเสนอ
             ทักษะในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
       เพื่อให้การแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิผล ท่านต้องรู้จักตนเอง และกลุ่มบุคคลที่ขัดแย้งกัน เข้าใจสถานการณ์ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งและตระหนักในการหาทางเลือกที่ดี
1.สไตล์การแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบใดที่ท่านชอบ
 ได้ ชี้ให้เห็นแล้วว่า ความสำเร็จของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับการตระหนักในตนเอง สิ่งนี้เป็นความจริงโดยเฉพาะในเรื่องการบริหารความขัดแย้ง
       พวกเราส่วนมากมีการตอบสนองความขัดแย้งแตกต่างกันตามสถานการณ์แต่ละคนมีสไตล์ ที่ตนชอบในการบริหารความขัดแย้ง (Kilmann and Thomas 1977)แบบสอบถามที่ท่านทำตอนต้นนั้นออกแบบเพื่อวินิจฉัยสไตล์การจัดการความ ขัดแย้งพื้นฐานของท่าน ให้ย้อนกลับไปดูผลอีก
        ท่านอาจสามารถเปลี่ยนสไตล์ที่ชอบให้เหมาะสมกับสภาพของปัญหาความขัดแย้งที่ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม สไตล์พื้นฐานของท่านจะบอกให้ทราบวิธีที่ท่านชอบมากที่สุดในการแสดงและเป็น วิธีที่ท่านใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นบ่อยๆ
2.ใช้ดุลยพินิจในการเลือกความขัดแย้งที่ท่านจะเข้าไปแก้ปัญหา
       ท่าน ไม่จำเป็นต้องสนใจที่จะบริหารความขัดแย้งทุกเรื่องบางเรื่องไม่มีความสำคัญ ที่ท่านจะต้องพยายามเข้าไปจัดการ บางเรื่องอาจไม่จำเป็นที่จะต้องบริหาร
        ความขัดแย้งทุกเรื่องไม่จำเป็นที่ท่านจะต้องเสียเวลาอ้นมีค่าเพื่อพยายาม เข้าไปแก้ปัญหา วิธีการหลีกหนีอาจนำมาใช้ได้ บางครั้งวิธีการหลีกหนีก็เป็นสิ่งสนองตอบที่เหมาะสม ท่านอาจปรับปรุงการบริหารความขัดแย้งให้มีประสิทธิผลได้โดยปรกติท่านอาจใช้ วิธีการหลีกหนีก็ได้
       เลือกเรื่องที่จำเป็นเท่านั้น ถนอมตนเองไว้บ้าง อย่าให้เปลืองตัวโดยไม่จำเป็นมากนัก เกือบไม่ต้องพิจารณาเลยว่าถ้าไม่ใช่ปัญหาของเรา เราก็ไม่ต้องแก้ไข (Greenhalgn,1986)
       เมื่อมีคู่ปรปักษ์ มีความขัดแย้งอย่างรุนแรง ฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายปรารถนาที่จะต่อความยาวสาวความยืดให้ความขัดแย้ง ให้ความขัดแย้งดำเนินต่อไป ภาวะการใช้อารมณ์ก็มีมากขึ้น การญาติดีดูเป็นเรื่องสุดวิสัย ถึงแม้ท่านจะพยายามอย่างไรก็ไร้ผล ผู้บริหารอย่าไปตกหลุมพรางว่าผู้บริหารที่ดีต้องแก้ปัญหาทุกเรื่อง บางเรื่องก็ป่วยการเปล่าบางเรื่องอยู่นอกเหนืออิทธิพลของท่าน คนอื่นอาจแก้ปัญหาได้ดีกว่า การปล่อยทิ้งไว้อาจดีกว่า
3.ประเมินบุคคลที่มีความขัดแย้ง
      ถ้า ท่านเลือกที่จะบริหารความขัดแย้ง สิ่งสำคัญก็คือ ต้องมีเวลาที่จะรู้จักผู้ที่ขัดแย้ง ใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ผลประโยชน์อะไรท่ีแต่ละคนเสนอมา แต่ละคนมีค่านิยม บุคลิกภาพ ความรู้สึกและพื้นฐานอะไร ถ้าท่านทราบสิ่งเหล่านี้ โอกาสที่จะบริหารความขัดแย้งสำเร็จก็มีมากขึ้น ถ้าท่านสามารถวิเคราะห์ได้ว่ากลุ่มที่ขัดแย้งกันนั้นมีทัศนคติอย่างไรกับ สถานการณ์ความขัดแย้ง โอกาสที่ท่านจะแก้ปัญหาความขัดแย้งสำเร็จย่อมมีมากขึ้น
4.ประเมินสาเหตุของความขัดแย้ง
      ความ ขัดแย้งมีสาเหตุของการเกิด ดังนั้นวิธีการที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้ง ท่านต้องวินิจฉัยอย่างมากถึงสาเหตุ วินิจฉัยแหล่งที่มาของความขัดแย้ง งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าความขัดแย้งมีสาเหตุแตกต่างกัน สามารถแยกออกได้  3 สาเหตุคือ
        การสื่อสาร โครงสร้าง ปัจจัยส่วนบุคคล (Robbins,1974)  ความขัดแย้งที่เกิดจากการสื่อสารเป็นความขัดแย้งที่เกิดจากความยากในความ หมายของภาษา เกิดความเข้าใจผิด มีเสียงรบกวนในช่องทางการติดต่อสื่อสาร ผู้คนส่วนมากมีสมมติฐานว่าความขัดแย้งเกิดขึ้นเพราะขาดการสื่อสาร แต่จริงแล้วโดยปรกติการสื่อสารมากทำให้เกิดความขัดแย้งสูง ข้อผิดพลาดของคนทั่วไปก็คือพยายามที่จะสื่อสารให้คนอื่นเขาเห็นด้วยกับความ คิดของตน  (Kursh,1971)
        นั่นก็คือเขามีสมมติฐานที่ว่าถ้าคนอื่นไม่ยอมรับจุดยืนของเขาจะทำให้เกิด ปัญหาการสื่อสาร สิ่งแรกที่เป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคลมีพื้นฐานมาจากสาเหตุของการสื่อสาร ที่ล้มเหลว ถ้าวิเคราะห์ให้ชัดเจนมากขึ้น ความขัดแย้งนั้นเกิดจากความคาดหวังในบทบาท เป้าหมายต่างๆที่คล้ายๆกันสำหรับสาเหตุของความขัดแย้งในตัวผู้บริหารแล้ว การส่ือสารที่ไม่ดีนั้นดูจะเป็นเรื่องที่เป็นปัญหามาก
         โดยธรรมชาติขององค์การแล้ว ความขัดแย้งมีทั้งแนวตั้งและแนวนอน(Robbins,1987) การบริหารที่แบ่งงานออกเป็นกลุ่มงาน แบ่งออกเป็นฝ่ายมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ตามลำดับขั้น มีกฏเกณฑ์และข้อบังคับเพื่อให้เกิดความสะดวก และเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานระหว่างฝ่ายต่างๆความขัดแย้งก็อาจจะเกิดขึ้น บ่อยก็คือ แต่ละคนมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน เป้าหมายของคนหนึ่งอาจจะขัดขวางเป้าหมายของคนอื่น การตัดสินใจในทางเลือกต่างๆ เกณฑ์การปฏิบัติงาน การจัดสรรทรัพยากร ความขัดแย้งเหล่านี้มิใช่เกิดจากปัญหาการสื่อสารที่ไม่ดีหรือเพราะการเป็น ศัตรูกัน เป็นปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างขององค์การ สิ่งดีๆที่คนต้องการเช่น
          งบประมาณ เงินเดือน  2ขั้นการเพิ่มบุคลากร ห้องทำงานใหม่ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือก ทรัพยากรที่มีจำกัดต้องแบ่งปันฝ่ายต่างๆและการบังคับบัญชาตามลำดับขั้น การทำงานตามความถนัดความชำนาญเฉพาะอย่าง การประสานงานย่อมก่อให้เกิดความขัดแย้งตามลักษณะโครงสร้างทั้งสิ้น
           สาเหตุความขัดแย้งประการที่สามก็คือ ปัจจัยส่วนบุคคลความแตกต่างระหว่างบุคคล ลักษณะเฉพาะระบบค่านิยม คนที่แตกต่างกันยากที่จะทำงานร่วมกัน ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันก็เช่น ภูมิหลัง การศึกษา ประสบการณ์ การฝึกฝนอบรม ซึ่งเป็นสิ่งหล่อหลอมบุคลิกภาพเฉพาะ และก่อให้เกิดค่านิยม ซึ่งจะทำให้เกิดการรับรู้ในตัวคนอื่นเบี่ยงเบนไป ไม่ยอมรับค่านิยมของคนอื่น กลายเป็นคนแปลกหน้า ปัจจัยส่วนบุคคลเหล่านี้เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง
5. กำหนดทางเลือก
     Thomas(1976) ได้วินิจฉัยแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งไว้ 5วิธีคือ การหลีกเลี่ยง การยอมตาม การใช้อำนาจ การประนีประนอม การแก้ปัญหาร่วมกัน  แต่ละวิธีมีจุดอ่อนจุดแข็ง ไม่มีวิธีการใดที่เหมาะกับทุกสถานการณ์ ต้องใช้ดุลยพินิจในการใช้แต่ละยุทธวิธีเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการความ ขัดแย้งของท่านทั้ง 5 วิธีเปรียบเสมือนกล่องเครื่องมือที่ท่านจะนำเอาไปใช้ ผู้บริหารที่มีทักษะจะทราบว่าวิธีการใดสามารถใช้ได้และมีประสิทธิผลที่ดี
         ได้กล่าวแต่ต้นแล้วว่า ความขัดแย้งทุกเรื่องไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการเดียว บางครั้งการหลีกเลี่ยงเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดการถอนตัวจากความขัดแย้ง หรือเมินเฉยกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อไรถึงจะเลือกใช้ยุทธวิธีการหลีกหนี เราจะใช้ยุทธวิธีการหลีกหนีเมื่อปัญหาความขัดแย้งนั้นไม่มีความสำคัญ เมื่อมีอารมณ์เข้ามาครอบงำสูงจำเป็นต้องใช้เวลาให้อารมณ์เย็นลงเสียก่อน
           เป้าหมายของการยอมตามเป็นลักษณะของการเน้นความสัมพันธ์ สนองตอบหรือยอมตามที่ท่านเกี่ยวข้องด้วย เช่น ยอมตามคนที่มีปัญหาเกี่ยวข้องด้วย ยุทธวิธีนี้ใช้บ่อยเมื่อมีปัญหาเกิดการโต้เถียงอภิปรายกัน และปัญหานั้นไม่มีความสำคัญสำหรับตัวท่านหรือเพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับ ตัวท่านในโอกาสต่อไป  (ถ้าท่านคิดว่าเถียงต่อไปก็แพ้)  
           การใช้อำนาจบังคับท่านพยายามที่จะทำให้ตัวท่านเกิดความพึงพอใจตามความต้อง การของตนเอง ที่ใช้อำนาจกับคนอื่นหรือกลุ่มอื่นนอกองค์การ ผู้บริหารใช้อำนาจหน้าที่เป็นทางการแก้ปัญหาในการโต้เถียงกันบ่อยๆการใช้ อำนาจบังคับนี้มีผลดีเมื่อท่านต้องการให้มีการแก้ปัญหาที่จบสิ้นโดยรวดเร็ว ปัญหาที่สำคัญคือปัญหาการปฏิบัติงานที่ล้าสมัย ปัญหาที่ต้องการความร่วมมือจากคนอื่นเข้าแก้ปัญหาแต่ไม่ต้องการให้มีการมี วิจารณ์
           การประนีประนอมเป็นยุทธวิธีที่ต้องการให้สมาชิกแต่ละกลุ่มยกเลิกค่านิยม บางอย่าง เป็นวิธีการบริหารและการเจรจากันของสหภาพแรงงาน การประนีประนอมเป็นยุทธวิธีที่ให้ประโยชน์สูงสุด ถ้าทั้งสองฝ่ายมีอำนาจเท่าเทียมกันเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว
          ในกรณีปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน หรือมีข้อจำกัดของเวลาในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม การแก้ปัญหาร่วมกัน เป็นวิธีการแก้ปัญหาตามอุดมการณ์ที่ทั้งสองฝ่ายชนะ ทุกกลุ่มที่ขัดแย้งต้องการผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ เป็นรูปแบบการเปิดอภิปรายแบบจริงใจต่อกัน รับฟังซึ่งกันและกันทำความเข้าใจปัญหาความขัดแย้งพิจารณาแนวทางแก้ปัญหา อย่างรอบคอบเพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย การแก้ปัญหาร่วมกันจะได้ผลดีเมื่อไร เมื่อมีเวลามากพอที่จะแก้ปัญหาเมื่อทั้งสองฝ่ายต้องการแนวทางแก้ปัญหาแบบให้ ทั้งสองฝ่ายชนะและเมื่อปัญหานั้นสำคัญมากเกินกว่าที่จะประนีประนอมได้
 6.เลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ทางเลือกที่ท่านชอบ ท่านจะดำเนินการอย่างไร
เริ่ม ต้นด้วยการพิจารณาสไตล์ที่ท่านชอบในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง(ดูแบบฝึกหัดที่ ท่านทำ)แบบฝึกปฏิบัตินี้ทำให้ท่านได้ตระหนักว่าสไตล์แบบไหนที่ท่านรู้สึก สะดวกสบายเช่น การหลีกหนี บางคนหลีกหนีความขัดแย้ง เขาอาจมีความเชื่อว่าไม่มีปัญหาใดที่ใหญ่เกิน ซึ่งไม่สามารถหลีหนีได้ ถ้าท่านเป็นคนเช่นนี้ท่านต้องตระหนักและป้องกันแนวโน้มแบบนี้
        สิ่งที่เป็นลำดับต่อมาก็คือ ท่านต้องมีเป้าหมาย ทางเลือกที่ดีที่สุดที่สอดคล้องกับสิ่งที่ท่านเห็นว่า  “ดีที่สุด”เป้าหมายสามประการในการคัดเลือกวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งก็คือ ปัญหาความขัดแย้งนั้นสำคัญ เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระยะยาวและความรวดเร็วในการที่จะแก้ปัญหาความขัด แย้งและสิ่งอื่นที่ยึดถือถ้าปัญหานั้นเป็นปัญหาสำคัญขององค์การหรือความ สำเร็จของหน่วยงาน ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาก็เป็นสิ่งที่ชอบด้วยเหตุผล ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์และมีความสำคัญ  ยุทธวิธีที่ดีที่สุด เรียงตามลำดับความชอบ
         ท้ายที่สุดท่านจำเป็นต้องพิจารณาสาเหตุของความขัดแย้งงานนั้นเกี่ยวกับอะไรมากที่สุด(Robbins,1974)ความ ขัดแย้งที่มีพื้นฐานจากการสื่อสารเกิดจากการได้ข้อมูลผิดพลาดและทำให้เกิด ความไม่เข้าใจกัน ต้องแก้ปัญหาร่วมกันในทางตรงข้ามถ้าสาเหตุความขัดแย้งเกิดจากปัจจัยส่วน บุคคล เช่นค่านิยมไม่ตรงกัน บุคลิกภาพ  เพื่อไม่เกิดความสะเทือนใจ ควรใช้วิิธีการหลีกหนีเพราะความขัดแย้งลักษณะนี็้อยู่ในระดับลึก
         เมื่อผู้บริหารต้องแก้ปัญหาในระดับลึกในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล มักจะแก้ปัญหาด้วยวิธีใช้อำนาจบังค้บ ไม่ทำให้ปัญหาความขัดแย้งหมดไปแต่ก็เป็นวิธีการที่เหมาะกับปัญหา การแก้ปัญหาลักษณะที่ 3 ความขัดแย้งที่เกิดจากโครงสร้างขององค์การดูเหมือนจะเป็นการง่ายที่จะควบคุม สามารถเลือกใช้ยุทธวิธีต่างๆได้มากมาย
         กระบวนการแก้ป้ญหาความขัดแย้งควรเป็นลักษณะผสานสิ่งต่างๆในเรื่องสไตล์ส่วน ตัวของท่าน เป้าหมายต่างๆ สาเหตุของความขัดแย้งควรจะนำมาวินิจฉัยเพื่อเลือกยุทธวิธีในการแก้ปัญหาความ ขัดแย้งให้มีประสิทธิผลสอดคล้องกับสถานการณ์ความขัดแย้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น